บ่อยครั้งที่ผมได้รับคำถามในทำนองที่ว่า
#จะเริ่มต้นวางแผนการเงินต้องทำอย่างไร
อะไรควรทำก่อน-หลัง เพราะทุกอย่างล้วนสำคัญไปหมด
#จะเริ่มต้นวางแผนการเงินต้องทำอย่างไร
อะไรควรทำก่อน-หลัง เพราะทุกอย่างล้วนสำคัญไปหมด
โพสนี้อาจจะยาวครับ แต่อยากให้เข้าใจกัน ผมขออธิบายขั้นตอนการวางแผนการเงินตามหลักสากลให้ทราบกันครับ สำหรับคนที่เป็นที่ปรึกษาการเงินอยู่แล้ว ผมคิดว่าพวกเรารู้จักปิรามิดทางการเงินกันอย่างดี (มีใครไม่รู้จักมั้ยครับ?)
#ปิรามิดขั้นแรกครับ วางแผนในเรื่องBasic Need
รากฐานทางการเงินที่สำคัญที่ต้องดูเลยคือเรื่องความจำเป็นพื้นฐาน และ การจัดการความเสี่ยง
รากฐานทางการเงินที่สำคัญที่ต้องดูเลยคือเรื่องความจำเป็นพื้นฐาน และ การจัดการความเสี่ยง
ผมขอแบ่งเป็น2ส่วนคือ
1. เงินฉุกเฉิน (Emergency cash) เงินก้อนนี้ เราควรมีเงินฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำเดือน มีไว้สำหรับกรณีขาดรายได้ชั่วคราว เช่นตกงาน เปลี่ยนงาน ธุรกิจมีปัญหา คุณจะได้มีเงินไว้ต่อลมหายใจ ให้คุณเลี้ยงดูตัวเองได้ 3-6เดือน
1. เงินฉุกเฉิน (Emergency cash) เงินก้อนนี้ เราควรมีเงินฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำเดือน มีไว้สำหรับกรณีขาดรายได้ชั่วคราว เช่นตกงาน เปลี่ยนงาน ธุรกิจมีปัญหา คุณจะได้มีเงินไว้ต่อลมหายใจ ให้คุณเลี้ยงดูตัวเองได้ 3-6เดือน
2. Risk Management การจัดการความเสี่ยง เช่นหากวันหนึ่งเกิดอะไรขึ้นกับตัวคุณเอง เช่นเจ็บป่วย อุบัติเหตุ เข้ารพ.ใหญ่ หรือ ไฟไหม้บ้าน โรงงาน ใครจะเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ครับ จ่ายเองคงไม่ไหว สิ่งที่ต้องมีคือโอนย้ายความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันรับผิดชอบแทนครับ
ประกันเป็นเครื่องมือเดียวที่ใช้ในการโอนย้ายความเสี่ยง
- นี่คือรากฐานทางการเงิน -
ประกันเป็นเครื่องมือเดียวที่ใช้ในการโอนย้ายความเสี่ยง
- นี่คือรากฐานทางการเงิน -
#ปิรามิดขั้นที่สอง การสะสม หรือ การออมต่างๆเช่น วางแผนเรื่องการเกษียน ในต่างประเทศนั้น เงินเพื่อการเกษียณคือเงินที่เราจะใช้จ่ายในตอนที่เราไม่มีรายได้แล้วถือเป็นเงิน Serious Money นะครับ เรื่องนี้เราต้่องมีเวลาในการวางแผนและสะสมเงินในขั้นนี้ รวมถึงวางแผนทุนการศึกษาบุตร การสะสมเงินเพื่อกรณีต่างๆ ก็อยู่ในขั้นนี้ครับ
ผมไม่ได้บอกให้คุณหยอดกระปุก ฝากออมทรัพย์นะครับ มันไม่ทันเงินเฟ้อ ปัจจุบันมีวิธีการต่างๆมากมายที่จะช่วยให้คุณสามารถเก็บเงินสำหรับเรื่องพวกนี้ได้ และ ไม่ถูกเงินเฟ้อกัดกิน เพราะให้ผลตอบได้มากกว่าเงินเฟ้อ แค่วางไว้ให้ถูกที่นะครับ
#ปิรามิดขั้นที่สาม คือการลงทุน (Investment) เมื่อคุณวางรากฐานทางการเงินในขั้นแรก อุดรอยรั่วได้ครบแล้ว และมีการสะสมเงินเพื่อกรณีต่างๆ ในอนาคตในข้อที่สองแล้ว หากยังมีเงินเหลืออยู่ เราจึงจะมาพิจารณากันในขั้นที่สาม คือเรื่องของการลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยครับ จะลงทุนแบบใด ก็อยู่ที่ความชอบ ความถนัด ที่ตัวเองมีความรู้ และรับความเสี่ยงได้
ที่สำคัญ เงินส่วนนี้ต้องเป็นเงินส่วนที่เหลือจาก 2ขั้นตอนข้างบนแล้วนะครับ ผมบอกอยู่เสมอว่า อย่าเอาเงินเกษียณมาลงทุน อย่าเอาเงินฉุกเฉินมาลงทุน เหตุผลที่การลงทุนอยู่เป็นอันดับสุดท้ายเพราะการลงทุนมีความเสี่ยงครับ
แม้การลงทุนจะให้ผลตอบแทน ให้เงินงอกเงิยได้ แต่มันก็มีความไม่แน่นอนอยู่ในตัวเอง วันนี้ให้ผลตอบแทนดี วันข้างหน้าเกิดขาดทุนเสียหาย ถ้าคุณวางแผนตามที่ผมบอก ชีวิตและครอบครัวก็จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่เมื่อไหร่ถ้าคุณเอาเงินทุกส่วนที่ปนกันมั่วมาลงทุน เสียหายเรื่องเดียว กระทบทุกเรื่องนะครับ
#นี่คือขั้นตอนการวางแผนการเงิน ตามหลักสากล ที่ปลอดภัย และ เป็นขั้นเป็นตอนที่สุด บางคนรู้ทั้งรู้ครับ แต่กลับทำไม่ได้
#ปัญหาที่เกิดคือ คนส่วนใหญ่ไม่วางแผนการเงินแบบนี้ครับ แต่วางแบบปิรามิดคว่ำ มีเงินเท่าไหร่ ไปลงทุนก่อน ต้องการผลตอบแทน ต้องการรายได้เพิ่ม แล้วค่อยคิดเรื่องเกษียณ หรือ ทุนการศึกษา เพราะมันอีกตั้งนาน เรื่องโอนย้ายความเสี่ยงไว้ทีหลัง คงยังไม่เป็นไรหรอก อายุยังไม่เยอะ
พังมาเยอะเลยครับแบบนี้...
ดังนั้นวันนี้ ถ้าใครที่อยากวางแผนการเงิน แล้วยังไม่รู้ว่าอะไรสำคัญก่อน-หลัง ลองเอาวิธีการจัดลำดับแบบปิรามิดทางการเงินไปทำดูครับ จะช่วยให้การวางแผนของคุณเห็นภาพมากขึ้น หรือสำหรับใครที่บอกว่า แค่ขั้นแรกก็ยังไม่มีเงินแล้วครับพี่หมง...
ก็นั่นแหละครับ คุณจะได้รู้ตัวเองว่า วันนี้คุณต้องขยัน ต้องหารายได้ให้มากขึ้นยังไงละครับ
- เอาใจช่วยครับ -
Website: www.wdcgroup.co.th
Line@: http://line.me/ti/p/%40wealthdesigner
#WDCgroup
#WealthDesigner
#OurTouchForTheBetterLife
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น