เป็นเช้าวันจันทร์ที่ไม่ค่อยสดใสเท่าไหร่นะครับ สำหรับข่าวลือการเลิกจ้างพนักงานของช่อง3 ซึ่งตามข่าวระบุว่ามีพนักงานที่ต้องลงชื่อพ้นสภาพ-ถูกเลิกจ้างออกจากงานเกือบร้อยชีวิต
โดยทางช่อง3 จะจ่ายเงินค่าชดเชยให้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานคือค่าชดเชย 10 เดือน และค่าตกใจ (ที่มิได้บอกกล่าวล่วงหน้าอีก 2 เดือน) รวมเป็น 12 เดือน
ในมุมมองของผม แม้ว่าผู้ที่ต้องพ้นสภาพพนักงานจะได้เงินก้อนเป็นจำนวนถึง12เดือนก็ตาม แต่ก็ต้องแลกมากับสถานะ "ตกงาน" ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันแบบนี้ ผมก็ยังถือว่าเป็นข่าวร้ายของชีวิตอยู่ดี โดยเฉพาะคนที่อายุมากแล้ว การหางานใหม่ในวันที่วงการสื่อฯ อยู่ในยุควิกฤติ ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากมากจริงๆครับ
ดังนั้น ผมจึงขออนุญาตให้คำแนะนำในเบื้องต้นสำหรับคนที่อยู่ในสถานการณ์แบบนี้นะครับ
#1ตรวจสอบเอกสารการเลิกจ้างให้ละเอียด หลังจากทราบรายละเอียดแล้ว ตั้งสติและตรวจสอบดูเอกสารในการเลิกจ้างนะครับ ว่ามีการจ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย และมีค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ รวมทั้งมีค่าชดเชยในค่าแรงในวันลาพักร้อนที่เหลืออยู่ในปีนั้นหรือไม่ เรื่องนี้สำคัญเป็นอย่างมาก เป็นการรักษาสิทธิของตัวเองนะครับ
#2ประกันสังคมมีประโยชน์ หากคุณเป็นคนที่จ่ายประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย #อย่าลืมขึ้นทะเบียนคนว่างงาน กับสำนักงานจัดหางานฯ ประกันสังคม ภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้าง เพื่อยื่นเรื่องในการรับเงินค่าทดแทนระหว่างการว่างงานนะครับ (เงินทดแทนกรณีว่างงานไม่ต้องเสียภาษีนะครับ)
คุณจะได้รับเงินค่าทดแทนกรณีว่างงาน จำนวน 50 %
เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท หรือถ้ามีเงินเดือนสูงกว่า 15,000 บาท ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือที่อัตราสูงสุด คือ 7,500 บาทครับ
เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท หรือถ้ามีเงินเดือนสูงกว่า 15,000 บาท ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือที่อัตราสูงสุด คือ 7,500 บาทครับ
ทั้งนี้ คุณต้องรายงานตัวที่สำนักงานแรงงานเขตพื้นที่ทุก 30 วันจนครบกำหนด สามารถดูรายละเอียดการขอขึ้นทะเบียนคนว่างงานได้ที่ลิงค์นี้ครับhttp://www.sso.go.th/hospital/category.jsp?lang=th&cat=874
#3กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต้มต่ออีกทางหนึ่ง ถึงคราวได้เห็นประโยชน์กันสักทีครับ สำหรับเงินกองทุนสำรองฯ ที่คุณจะได้รับออกมา ยังไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ (อาจจะเนื่องจากค่าชดเชยที่คุณได้รับ มากเพียงพอแล้ว) ผมแนะนำว่า อย่าเพิ่งใช้ครับ
โดยปกติแล้วกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินออมในระยะยาว สำหรับเป็นเงินได้หลังเกษียณ แต่สำหรับคนmujต้องถูกนายจ้างให้ออกจากงานเสียก่อน ก็มีทางเลือกสำหรับการจัดการกับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โดยคุณสามารถเลือกย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)ได้นะครับ เพื่อสะสมระยะเวลาสมาชิกกองทุนฯ และรอจนอายุครบ 55 ปี ค่อยนำเงินออกจากกองทุนฯ เพื่อจะได้รับการยกเว้นภาษีตามเงื่อนไข คือ มีอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 5 ปี
#4อย่านำเงินที่ได้ไปลงทุนจนหมด บางคนถือโอกาสนี้ในการสร้างอาชีัพใหม่ให้ตัวเอง บ้างก็หางานใหม่ บ้างก็ค้าขาย สร้างธุรกิจ แต่ไม่ว่าคุณจะมีทางออกแบบไหน ผมแนะนะว่า "อย่านำไปลงทุนจนหมด"นะครับ ยังไงเสีย คุณควรต้องกันเงินสำรองสำหรับรายจ่ายจำเป็นไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน เผื่อในกรณีที่ยังไม่ได้งานใหม่ หรือ ธุรกิจที่คุณกำลังจะทำ มันไปไม่รอด
แม้ว่าการกันเงินขึ้นไว้ถึง 6 เดือน จะทำให้คุณมีเงินไปลงทุนน้อยลง แต่ถ้าแลกมากับความสบายใจอย่างน้อย 6 เดือน ว่าคุณมีเงินจ่ายภาระแน่นอน ทำเถอะครับ คุ้มครับ
ท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆคนที่อยู่ในสถานการณ์แบบนี้นะครับ ขอให้ทุกท่านมีสติและผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
สำหรับคนที่ยังมีงานทำ มีรายได้อยู่ ก็อย่าประมาทนะครับ
"ความมั่นคง" ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่คุณมีงานประจำทำ (แต่เป็นรายได้ทางเดียว) หรือ การได้ทำงานในองค์กรใหญ่โต มีชื่อเสียงนะครับ ทุกวันนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ สร้างรายได้ไว้หลายๆทาง และ วางแผนการเงินกันดีๆครับ
"ความมั่นคง" ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่คุณมีงานประจำทำ (แต่เป็นรายได้ทางเดียว) หรือ การได้ทำงานในองค์กรใหญ่โต มีชื่อเสียงนะครับ ทุกวันนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ สร้างรายได้ไว้หลายๆทาง และ วางแผนการเงินกันดีๆครับ
- อย่ารอให้สายไปครับ -
Website: www.wdcgroup.co.th
Line@: http://line.me/ti/p/%40wealthdesigner
#WDCgroup
#WealthDesigner
#OurTouchForTheBetterLife
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น